อุบัติเหตุ คือ

             สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในครอบครัวขาดการ ติดต่อหรือหายตัวไปโดย ไม่ทราบสาเหตุดังนั้นหากไม่มีเหตุสงสัยอื่นๆ หรือไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าคนหาย หายตัวไปด้วยสาเหตุใดอาจจะสันนิษฐานใน เบื้องต้นได้ว่าคนหายอาจจะ ประสบอุบัติเหตุอันถึงแก่การบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อคนในครอบครัว หายออกจากบ้านไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ครอบครัวคนหายจึงควรไปตรวจสอบ ผู้ประสบภัยทางอุบัติเหตุ

ขั้นตอนการตรวจสอบอุบัติเหตุ

1. สถานีตำรวจ

            สถานีตำรวจ คือ สถานที่แรกที่ครอบครัวคนหาย ควรไปติดต่อ เพื่อแจ้งความคนหาย ซึ่งการไปแจ้งความคนหายนั้นครอบครัวคนหายสามารถตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุ ในท้องที่นั้นๆ ได้ด้วย เนื่องจากปกติ การเกิดอุบัติเหตุต่างๆเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ รับแจ้งเหตุ จะเดินทางไปสถานที่เกิดเหตุและลงบันทึก ประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งในกรณีเสียชีวิต หรือ บาดเจ็บสาหัสนั้น โดยปกติ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือโรงพยาบาลที่รับตัวคนเจ็บไปรักษานั้น จะต้องรีบติดต่อ ครอบครัวคนหายโดยเร็ว จากข้อมูลในเอกสารหรือ บัตรประจำตัวประชาชนของคนหาย

             สถานีตำรวจท้องที่อื่นๆ ที่คนหายเดินทางผ่าน หรือคาดว่าจะผ่านไปยังท้องที่นั้นคือสถานที่ที่ ครอบครัวคนหายควรไปดำเนินการติดต่อสอบ ถามอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน ซึ่งการติดต่อสอบถาม สถานีตำรวจต่างๆ เหล่านี้ ครอบครัวคนหายไม่ จำเป็นต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง แต่อาจจะใช้วิธี โทรสอบถามทางโทรศัพท์ได้

วิธีการ คือ

1. ครอบครัวคนหาย ควรไล่ชื่อท้องที่สถานีตำรวจที่คนหายอาจจะ เดินทางผ่านท้องที่นั้น ให้ครบทั้งหมดลงในกระดาษ
2. โทรศัพท์ไปสอบถามหมายเลขโทรศัพท์สถานีตำรวจต่างๆ เหล่านั้น ที่ หมายเลข 1133 หรือ 1113
3. โทรศัพท์ไปยังสถานีตำรวจต่างๆ เหล่านั้น เพื่อสอบถาม รายละเอียดสถิติอุบัติเหตุที่ทางสถานีตำรวจนั้นๆ รับแจ้ง ในช่วงระหว่างเวลาที่คนหาย หายออกจากบ้านไป

2. โรงพยาบาล

            โรงพยาบาล คือ หน่วยงานสำคัญที่รับตัวผู้ประสบ อุบัติเหตุทุกรายมาทำ การรักษาจากการส่งตัวของเจ้าหน้าที่ ตำรวจและ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยดังนั้นครอบครัวคนหายควร ไปตรวจสอบ รายชื่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาล ต่างๆที่อยู่ใน ท้องที่ที่คนหายอาจจะเดินทางไปยังบริเวณนั้นๆ

การตรวจสอบตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้น จะต้องตรวจสอบ 2 แผนก คือ
1. ติดต่อ ไปยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของโรงพยาบาลนั้น เพื่อสอบถามรายชื่อ ผู้ป่วยในซึ่งพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนั้นๆ ในช่วงระหว่างวันที่คนหาย หายตัวไป
2. ติดต่อไปยังแผนกนิติเวชของโรงพยาบาลนั้นๆ โดยหากว่าเป็นโรงพยาบาล ในต่างจังหวัด ต้องโทรไปสอบถามที่แผนกนิติเวชของโรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้นๆ

ส่วนในกรณีจังหวัดกรุงเทพมหานครนั้น ให้ติดต่อไปที่แผนกนิติเวช ที่อยู่ใน 4 โรงพยาบาลดังต่อไปนี้
1.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2926-9063
2. โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร 0-2201-1145
3. โรงพยาบาลตำรวจ โทร 0-2252-9006
4. โรงพยาบาลศิริราช โทร 0-2419-7000 ต่อ 6320
5. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร 0-2252-8181-9

            โดยปกติแล้วเมื่อผู้ป่วยถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากว่ามีหลักฐานประจำตัว ยืนยันว่าเป็นบุคคลใดแล้ว ทางโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะหาทาง ติดต่อกลับไปยังญาติโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ บางกรณีหลักฐานประจำตัวอาจจะ สูญหายเมื่อเก็บอุบัติเหตุ ดังนั้น ทางเจ้าหน้าที่จึงไม่ทราบว่าผู้หายเป็นใคร ซึ่งครอบครัวคนหาย ควรจะไปดำเนินการติดต่อสอบถามยังหน่วยงานต่างๆ ที่แนะนำทุกแห่ง ทั้งนี้ การบอกข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและตำรวจนั้น ในกรณีที่ผู้หาย ไม่มีเอกสารติดตัวไปด้วย หรือเอกสารอาจจะหายระหว่างเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวคนหาย จึงควรสอบถามข้อมูลให้ครอบคลุมถึงผู้ป่วยและ ร่างที่นำส่งนิติเวช ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อด้วย โดยการบอกลักษณะ รูปพรรณเบื้องต้นของคนหาย

3.หน่วยกู้ภัย

             หน่วยกู้ภัย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 'การส่งตัวผู้บาดเจ็บให้ได้รับการรักษายัง โรงพยาบาลโดยหน่วยกู้ภัยที่ไปช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บนั้นจะเก็บข้อมูลชื่อและรูปพรรณ ของผู้บาดเจ็บที่ได้นำส่งโรงพยาบาล ดังนั้น หน่วยกู้ภัยจึงเป็น อีกหน่วยงานหนึ่งที่ครอบครัวคนหาย ต้องไป ตรวจสอบข้อมูล โดยในต่างจังหวัดนั้น ให้ติดต่อ ไปยังหน่วยกู้ภัยที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ หากไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานไหน ให้สอบถาม ไปยังสถานีตำรวจในพื้นที่นั้นๆ เนื่องจากเจ้าหน้า ที่ตำรวจจะทำงานประสานกับหน่วยกู้ภัยใน พื้นที่อยู่แล้ว

          ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น มีหน่วยกู้ภัยที่ทำหน้าที่อยู่ 2 หน่วยงาน คือ มูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง และมูลนิธิร่วมกตัญญู โดยทางครอบครัวต้องโทรไป สอบถามข้อมูลทั้งสองหน่วยงาน คือ
มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง โทร 0-2226-4444
มูลนิธิร่วมกตัญญู โทร 0-2751-0951-3