ความเสี่ยงในการพลัดหลงของผู้ป่วยที่มีอาการหลงลืม อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ปัญหาเมื่อผู้ป่วยหลงลืม ที่พลัดหลงหายออกจากบ้าน จะไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ และมักไม่มีเอกสารติดตัว
เมื่อพลเมืองดีหรือตำรวจให้การช่วยเหลือ ไม่สามารถรู้ได้ว่า บุคคลพลัดหลงเป็นใคร กว่าจะสามารถติดตามญาติได้อาจใช้เวลาหลายวัน หรือบางกรณีต้องโพสรูปคนพลัดหลงในโลกออนไลน์เพื่อตามหาญาติ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบกับตัวคนพลัดหลงและญาติได้
ริสแบนด์นี้ จะเป็นสัญลักษณ์ให้คนทราบว่าบุคคลที่สวมใส่และเดินในลักษณะพลัดหลงอยู่ในที่สาธารณะกำลังต้องการความช่วยเหลือ โดยสามารถระบุตัวตนผู้สวมใส่ได้ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด และ PIN ที่ติดอยู่บนริสแบนด์
คนพลัดหลงที่มีอาการหลงลืม ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงสูงเมื่อพลัดหลงในที่สาธารณะ หลายกรณีประสบอุบัติเหตุระหว่างที่พลัดหลง หรือบางรายมีความเจ็บป่วยทางกายหลายโรคที่ต้องทานยาต่อเนื่อง การหายออกจากบ้านหลายวันจึงมีความเสี่ยงต่อชีวิต
การสวมริสแบนด์ หาย(ไม่)ห่วง จึงเพื่มโอกาสในการที่ผู้พลัดหลงได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที นอกจากนี้ริสแบนด์ หาย(ไม่)ห่วง ถูกออกแบบคล้ายริสแบนด์ปกติทั่วไป และไม่ใช่ของมีค่า จึงปลอดภัยต่อผู้สวมใส่จากมิจฉาชีพที่ประสงค์ต่อทรัพย์
ริสแบนด์ หาย(ไม่)ห่วง ปกป้องสิทธิของผู้ป่วยที่พลัดหลงหายออกจากบ้าน แม้กระทั่งผู้ทำการช่วยเหลือจะสแกนคิวอาร์โค้ตที่สายรัดข้อมือ ก็จะทราบเพียงว่า ผู้สวมใส่ริสแบนด์เป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่มีการแจ้งชื่อนามสกุลหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สวมใส่ และมีคำแนะนำให้พลเมืองดีนำผู้ป่วยส่งสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์ให้ติดต่อญาติเป็นหมายเลข 095 631 1914 ซึ่งเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของ ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งทำหน้าที่คล้ายคอลเซ็นเตอร์ ในการประสานงานญาติของผู้สวมใส่ริสแบนด์เส้นนั้นโดยตรง ซึ่งเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
ด้วยตัวเอง ผ่าน แอพพลิเคชั่น Thaimissing
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแอพนี้
ได้ทั้งระบบ IOS และ Android