คือการที่ผู้ป่วยมีอาการเสื่อมของการทำงานของสมองทั้งหมดซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำความรอบรู้มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพแต่กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุนั้นต้องพิจารณาว่า เกิดขึ้นเนื่องจากอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อมหากเป็นอาการสมองเสื่อม ที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นโดยมากจะสูญเสียความจำเพียงอย่างเดียวซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆโดยไม่มีผลต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันแต่หากเป็น โรคสมองเสื่อมนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าและมีการสูญเสียของสมอง ส่วนอื่นร่วมด้วยจนผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและมีชีวิตสั้นโรคในกลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบบ่อยคือ โรคอัลไซเมอร์

          ความแตกต่างระหว่างอาการลืมปกติ และการป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม คือ คนสูงอายุทั่วไปอาจมีอาการลืมได้บ้าง แต่ลืมแล้วจำได้ แต่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะจำไม่ได้เลยว่ามีการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นอกจากนั้นผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพรวมด้วย เช่น แต่ก่อนอาจเป็นคนที่พิถีพิถันเรื่องการแต่งกาย แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ทางสมองผู้ป่วยจะไม่สนใจตนเอง ไม่ดูแลตนเองหรือผู้ป่วยที่เป็นคน เรียบร้อยอารมณ์ดีอาจกลายเป็นคนโกรธเกรี้ยว ก้าวร้าว รุนแรง หรือในทางกลับกันอาจยิ้มหรือหัวเราะตลอดเวลาทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องขบขัน ผู้ป่วยอาจหัวเราะ ยิ้ม ทานข้าวไปหัวเราะไป เป็นต้น

          เมื่อคนหายจากสาเหตุโรคสมองเสื่อมหายออกไปจากบ้านหรือพลัดหลงกับ ครอบครัวในสถานที่ต่างๆเบื้องต้นครอบครัวหรือญาติคนหายควรตรวจสอบ ทรัพย์สินรูปพรรณและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ผู้หายสวมใส่ก่อนที่จะหายไป เป็นอันดับแรกเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเป็นจุดสังเกตคนหาย และวิเคราะห์เส้นทางในการติดตามคนหายต่อไป

          การตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว คือการหาข้อมูลจากบุคคลซึ่งพบเห็นผู้หายเป็น ครั้งสุดท้ายเนื่องจากภายในบ้านบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้สามารถให้ข้อมูลล่าสุด และใกล้เคียงกับเวลาที่หายไปได้โดยเริ่มจากบุคคลซึ่งเป็นผู้พบเห็นคนหายครั้ง สุดท้ายเพื่อให้ทราบข้อมูลในส่วนรูปพรรณหรือเสื้อผ้าที่ผู้หายสวมใส่เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจึงไปสอบถามข้อมูลจากเพื่อนบ้านร้านค้าวินจักรยานยนต์รับจ้างหรือ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณต่างๆซึ่งเป็นทางผ่านหรือเป็นบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่หาย เพื่อหาเบาะแสว่าคนหายเดินพลัดหลงไปตามเส้นทางใดทั้งนี้การหาข้อมูลดังกล่าว ควรนำรูปถ่ายและควรมีข้อมูลทางรูปพรรณคนหายเช่นเสื้อผ้าที่คนหายสวมใส่ หรือจุดสังเกตที่เด่นชัดของคนหายซึ่งคนที่สัญจรผ่านไปมาอาจพบเห็นและ แจ้งเบาะแสดังกล่าวได้

กระบวนการติดตามคนหายกรณีโรคสมองเสื่อม

1. การวิเคราะห์อุปนิสัยและพฤติกรรมของคนหาย

          หมายถึงการที่ครอบครัวของคนหายนำอุปนิสัยพฤติกรรมและการแสดงออกของ คนหายมาเป็นข้อมูล ในการวิเคราะห์ถึงเบาะแสในการติดตามคนหายโดยข้อมูล ในส่วนนี้ถือว่ามความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากพฤติกรรรมและการแสดงออก ของคนหายจะ เชื่อมโยงกับสถานที่ซึ่งคนหายอาจจะพลัดหลงไป เช่น

          1.1 พฤติกรรมการขึ้นรถประจำทางของคนหาย คนหายประเภทโรคสมองเสื่อมที่ครอบครัวไม่เคยพาขึ้นรถประจำทาง หรือไม่เคยปล่อยให้คนหายไปไหนมาไหนตามลำพัง มีความเป็นไปได้ว่า คนหายดังกล่าวจะใช้วิธีการเดินไปเรื่อยๆ เพราะไม่คุ้นเคยในการขึ้นรถ และไม่รู้ว่าจะขึ้นรถประจำทางได้อย่างไร จึงเป็นผลให้คนหายพลัดหลงประเภท นี้ใช้วิธีการเดินเท้าไปยังสถานที่ต่างๆ ดังนั้น การติดตามหาคนหายประเภทนี้ ครอบครัวคนหายจะต้องกระจายกำลังคนกันออกติดตามในเส้นทางต่างๆ รอบบริเวณที่พักหรือสถานที่ซึ่งคนหายพลัดหลงไป เพราะคนหายอาจจะยังเดินอยู่ไม่ไกลจากบริเวณดังกล่าวมากนัก ในทางกลับกัน หากคนหายเป็นบุคคลซึ่งมีความคุ้นเคยกับการโดยสารรถประจำทาง อาจจะมีความเป็นได้ว่าคนหายอาจจะขึ้นรถประจำทาง เพื่อหาทางกลับบ้าน แต่ก็ไม่รู้จุดหมายปลายทางว่าจะเดินทางไปที่ใด ดังนั้น หากมีความเป็นไปได้ว่าคนหายจะขึ้นรถประจำทาง ครอบครัวคนหายควรตรวจสอบว่ารถประจำทางสายใดบ้างที่ผ่านบริเวณบ้าน หรือสถานที่ซึ่งคนหายพลัดหลงไปซึ่งจะทำให้ทราบเบาะแส ว่าควรจะไปตามคนหายที่ใดได้บ้าง

          1.2 พฤติกรรมการเดินทางออกนอกบ้าน คนหายประเภทโรคสมองเสื่อมที่ไม่เคยออกจากบ้านไปที่ไหนเลยมีความเป็น ไปได้ว่าจะมีพฤติกรรมคุ้นชินกับบ้านที่อยู่อาศัยหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่มีลักษณะ คล้ายกับบ้านที่เคยอยู่ดังนั้นคนหายประเภทโรคสมองเสื่อมที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเดินพลัดหลงเข้าบ้านคนอื่นเพราะคนหายนึกว่าเป็น บ้านของตนเองเนื่องจากมีความคุ้นชินกับสิ่งปลูกสร้างในกรณีดังกล่าวคนหาย อาจจะถูกเจ้าของบ้านหลังนั้นๆ แจ้งตำรวจจับ ในข้อหาบุกรุกหรือเจ้าของบ้าน เห็นว่าเป็นผู้มีความผิดปกติทางสมองจึงอาจจะเรียกตำรวจมาควบคุมตัวไว้ ครอบครัวคนหายจึงควรไปติดต่อที่สถานีตำรวจท้องที่และสถานีตำรวจในบริเวณ ใกล้เคียงทุกแห่งเพื่อสอบถามว่าผู้หายถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจหรือไม่

           1.3 คนหายที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ คนหายประเภทโรคสมองเสื่อมที่ ไม่สามารถอ่านหนังสือได้คนกลุ่มนี้อาจจะไม่กล้าขึ้นรถประจำทางเนื่องจาก ไม่รู้ว่ารถประจำทางคันที่พบเห็นจะมุ่งหน้าไปที่ไหนหรืออาจจะกำลังเดินไป เรื่อยๆเพื่อหาทางกลับบ้านแต่เนื่องจากอ่านหนังสือไม่ได้จึงคิดว่าสถานที่ต่างๆ ที่ตนเองได้เดินไปเป็นทางกลับบ้านแต่แท้จริงแล้วกลับกลายเป็นการเดินไปเรื่อยๆ โดยไร้จุดหมายดังนั้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของคนหายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นว่าคนหายจะเดินทางพลัดหลงไปที่ใดได้บ้าง

2.การตรวจสอบในสถานที่ซึ่งคาดว่าคนหายไป

2.1 การตวจสอบยังสถานที่ซึ่งคนหายคุ้นเคยหรือไปเป็นประจำ

          ขอให้ทางครอบครัวลองไปตรวจสอบยังสถานที่ดังกล่าวโดยการไปสอบถามบุคคล ที่อยู่ในบริเวณนั้นว่า หลังจากที่หายตัวไปนั้นคนหายได้มายังสถานที่นี้หรือไม่หาก ไม่พบก็อาจฝากรูปของคนหายไว้เพื่อประชาสัมพันธ์ต่อเพราะมีความเป็นไปได้ว่า ในขณะที่ทางครอบครัวไปตรวจสอบนั้น คนหายอาจอยู่ในระหว่างการเดินทาง

2.2 การตรวจสอบที่บ้านเก่า หรือที่ทำงานเก่าของคนหาย

          เนื่องจากว่าผู้มีอาการสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักจดจำแต่เรื่องในอดีตจึงมีความเป็นไป ได้ว่าการหายตัวไปนั้นเพื่อที่จะเดินทางไปยังบ้านเก่าหรือที่ทำงานเก่าของตนเอง

3.การตรวจสอบที่โรงพยาบาลละแวกบ้าน

          โรงพยาบาลใกล้เคียงกับบริเวณคนหายได้พลัดหลงหายไปทุกแห่งคืออีกสถานที่ หนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าคนหายอาจจะถูกนำตัวไปรักษาพยาบาลเนื่องจาก คนหายประเภทโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะเป็นสูงอายุ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า คนหายอาจจะประสบอุบัติเหตุหรือเป็นลมล้มพับในระหว่างที่กำลังเดินพลัดหลง อยู่จนพลเมืองดีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจนำส่งโรงพยาบาลดังนั้นครอบครัวคนหาย จึงควรเรียงลำดับรายชื่อโรงพยาบาลใกล้บ้านทั้งหมด ทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนโรงพยาบาลในเขตใกล้เคียงทุกแห่งเมื่อครอบครัวคนหายเรียงลำดับ รายชื่อโรงพยาบาลใกล้เคียงครบทุกแห่งแล้วให้โทรศัพท์ไปสอบถามหมายเลข โทรศัพท์ของโรงพยาบาลเหล่านั้น ที่เลขหมาย 1113 หรือ 1133 หรือ 1188 เมื่อได้ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาลต่างๆครบเรียบร้อยแล้วให้ ครอบครัวคนหายโทรศัพท์ไปสอบถามยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาล นั้นๆว่ามีบุคคลที่มีลักษณะเดียวกันกับคนหายเป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาลนั้นๆหรือไม่ในกรณีที่ไม่มีประวัติผู้ป่วยที่ใกล้เคียงกับคนหายให้ฝาก ลักษณะรูปพรรณของคนหายและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับของครอบครัวคนหายไว้ เผื่อว่าคนหายอาจจะถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งนั้นในภายหลัง เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะได้ติดต่อกลับมายังครอบครัวได้

4.การตรวจสอบยังสถานีตำรวจ

          เนื่องจากว่าในระหว่างที่หายตัวไปนั้นอาจมีคนพเห็นคนหายและนำตัวมาส่งยัง สถานีตำรวจเพื่อประสานงานติดตามครอบครัวต่อไปหรืออีกกรณีหนึ่งคนหายอาจ เดินเข้าไปยังบ้านของคนอื่นเนื่องจากหลงคิดว่าเป็นบ้านของตัวเองจึงถูกควบคุมตัว ในข้อหาบุกรุกโดยให้ครอบครัวคนหายสอบถามว่ามีบุคคลที่มีลักษณะเดียวกันกับ คนหายถูกควบคุมตัว หรือมีคนพาคนหายมาฝากไว้หรือไม่ในระหว่างการติดตาม หาครอบครัวแต่ในกรณีที่ไม่มีบุคคลที่ใกล้เคียงกับคนหายให้ฝากลักษณะรูปพรรณ ของคนหายและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับของครอบครัวคนหายไว้เผื่อว่าคนหาย อาจจะถูกนำมาควบคุมตัวที่สถานีตำรวจแห่งนั้นในภายหลังเจ้าหน้าที่จะได้ติดต่อ กลับมายังครอบครัวได้

5.การตรวจสอบที่อู่รถโดยสารประจำทาง

          ในกรณีที่คนหายสามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางเองได้นั้นอาจจะมีความเป็นได้ว่า คนหายอาจจะขึ้นรถประจำทางเพื่อหาทางกลับบ้านแต่ก็ไม่รู้จุดหมายปลายทาง ว่าจะเดินทางไปที่ใดดังนั้นหากมีความเป็นไปได้ว่าคนหายจะขึ้นรถประจำทาง ครอบครัวคนหายควรตรวจสอบว่ารถประจำทางสายใดบ้างที่ผ่านบริเวณบ้าน แต่หากคนหายไม่สามารถขึ้นรถโดยสารประจำทางได้เพียงลำพังมีความเป็นไปได้ ว่าคนหายดังกล่าวจะใช้วิธีการเดินไปเรื่อยๆเพราะไม่คุ้นเคยในการขึ้นรถ

6.การตรวจสอบยังสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี

          ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่รวบรวม คนหายพลัดหลงที่มีอาการสมองเสื่อมโดยเมื่อทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับคนหายไว้ในการดูแลและไม่สามารถติดต่อหาครอบครัวได้ ก็จะนำตัวมาฝากไว้ที่นี่ก่อน

7.การตรวจสอบเรื่องอุบัติเหตุ และแผนกนิติเวชตามโรงพยาบาลต่างๆ

          เป็นการตรวจสอบอุบัติเหตุแบบคร่าว ๆ เผื่อในกรณีที่คนหายอาจประสบอุบัติเหตุ และถูกนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลแต่ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอาจไม่สามารถ สอบถามรายละเอียดของคนหาย เนื่องจากว่า คนหายอาจหมดสติ หรือเสียชีวิต แต่ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานใดแสดงตัว ทำให้ไม่สามารถระบุตัวได้ว่าเป็นใคร ซึ่งในส่วนนี้ ควรให้บุคคลในครอบครัวที่มีสภาวะจิตใจที่เข้มแข็งในการโทรศัพท์ ไปสอบถามข้อมูล และควรเป็นบุคคลที่สามารถบอกรูปพรรณและตำหนิของคนหาย ได้อย่างชัดเจน แผนกนิติเวชของโรงพยาบาลต่อไปนี้ที่ครอบครัวคนหายควรโทรศัพท์ ไปสอบถามข้อมูล ตามสถานที่ดังต่อไปนี้

มูลนิธิ

ชื่อหน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
1.มูลนิธิปอเต๊กตึ้ง 0-2226-4444-8
2.มูลนิธิร่วมกตัญญู 0-2751-0951-3
3.ศูนย์เอราวัณ (กรุงเทพ) 1646
4.ศูนย์นเรนทร (ต่างจังหวัด) 1669

แผนกนิติเวชตามโรงพยาบาลต่างๆ

8.การตรวจสอบยังกรมราชทัณฑ์

          อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทางครอบครัวของคนหาย ควรดำเนินการตรวจสอบ หลังจากที่ลองตรวจสอบตามสถานที่ได้แนะนำในข้างต้นหมดแล้วเนื่องจากว่า ในกรณีที่คนหายทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นโดยคนหายอาจหลงผิดว่ากำลังโดนบุคคลดังกล่าวปองร้ายเป็นเหตุให้คนร้าย อาจถูกดำเนินคดีในข้อหาทำ ร้ายร่างกายจึงมีความเป็นไปได้ว่าคนหายอาจถูกควบคุมตัวในเรือนจำ แห่งใดแห่งหนึ่งให้ทางครอบครัวโทรศัพท์ไปสอบถามเรื่องเอกสาร หรือการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าว ที่หมายเลขโทรศัพท์ของกรมราชทัณฑ์ ที่เลขหมาย 0-2967-2222

ชื่อหน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์
1.โรงพยาบาลกลาง 0-2220-8000
2.โรงพยาบาลตำรวจ 0-2252-90063
3.โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 0-2534-7000
4.โรงพยาบาลศิริราช 0-2419-7000
6.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 02-926-9042-5
7.โรงพยาบาลรามาธิบดี 0-2201-1145
8.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 0-2252-8181-9