ภายหลังจากที่ "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา"ทำหน้าที่สะท้อนภาพปัญหาจากพื้นที่ปฎิบัติงานทางสังคมในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มาได้ระยะหนึ่ง เราพบว่ามีการเคลื่อนย้ายประชากรเพื่อไปประกอบอาชีพยังพื้นที่ต่างถิ่นเป็นจำนวนมากแต่นั่นคงไม่ใช่ปัญหาสำคัญเท่ากับการที่ พวกเขาไม่ได้กลับบ้านอีกเลย...

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างละเอียดในชุมชนทั่วทั้งตำบลแม่ยาวทำให้เราพบว่าการหายตัวไป ของคนในชุมชน มีแนวโน้มว่าจะถูก "ค้ามนุษย์"และเราพยายามค้นหากระบวนการในการช่วย เหลือติดตามคนหายในชุมชน แต่เราไม่สามารถสัมผัสการเข้าถึงความช่วยเหลือดังกล่าวได้เลยซึ่ง นั่นอาจหมายถึง ปัญหาคนหายในประเทศไทยยังไม่มีกระบวนการในการจัดการปัญหาจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องสมมุติฐานใหม่จึงมีขึ้นว่าหากการหายตัวไปของประชากรในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายเพียงตำบลเดียวมีมากถึงยี่สิบกว่ารายแล้วถ้าพื้นที่ทั้งประเทศไทยจะมีคนหายมากขนาดไหน??? กลางปี พ.ศ. 2546 การเดินทางเพื่อแสวงหาคำตอบของปัญหา จึงเริ่มขึ้น gพร้อมกับการกลับมาอีกครั้งของ "กระจกเงา"ในเมืองหลวงและเป็นก้าวแรกของ"ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์"

พ.ศ. 2546-2547

เป็นระยะเริ่มต้นของการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้การสนับสนุน ด้านงบประมาณจากมูลนิธิเอเชียและสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยโดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีประเด็นในการดำเนินงานที่น่าสนใจหลายประเด็น อาทิ

  • การจัดงานสัมมนา "ครอบครัวคนหาย...วิกฤติชีวิตที่ถูกพลัดพราก"
  • ศึกษาประเด็นเรื่อง การนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน
  • การพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนหายและเวปไซค์ประชาสัมพันธ์ติดตามคนหาย www.backtohome.orgแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2548-2549

    เป็นระยะที่ประสบปัญหาด้านงบประมาณในการดำเนินการ เนื่องจากงบประมาณที่สนับสนุนโดยมูลนิธิเอเชียและสถานทูตอเมริกาสิ้นสุดลง สัญญาลง ทำให้ต้องมีการลดอัตราเจ้าหน้าที่จากเดิม 7 คน เหลือเพียง 2 คนเท่านั้นแต่ทว่าปริมาณงานกลับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในขณะนี้ศูนย์ข้อมูลคนหายฯ เริ่มเป็นที่รู้จักของสังคมมากยิ่งขึ้น ทำให้ในแต่ละเดือนมีจำนวนการรับแจ้งและให้คำปรึกษามากกว่า เดือนละ 50 กรณีในรอบปี 2548-2549 ศูนย์ข้อมูลคนหายฯได้เริ่มดำเนินขยายงานเพิ่มเติมดังนี้

  • โครงการศึกษากระบวนการของเด็กที่อยู่ในธุรกิจขอทานและกระบวนการจัดการปัญหาการขอทานโดยองค์กรภาครัฐเพื่อหาแนวทาง การช่วยเหลือในประเทศไทย(3เดือน)สนับสนุนงบประมาณโดย UNIAP
  • โครงการยุติธุรกิจเด็กขอทาน สนับสนุนโดย ILO
  • ถึงแม้ว่าศุนย์ข้อมูลคนหายฯ จะได้รับงบประมาณในการขยายงานเพิ่มเติมในเรื่องเด็กขอทาน แต่งบประมาณดังกล่าวไม่มีงบประมาณอัตรา เจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ทำให้ผู้ปฎิบัติต้องแบกรับภารกิจทั้งหมดเพียง 2 คน

    พ.ศ.2550

    ระยะนี้มีการดำเนินงานเชิงรุก โดยพยายามผลักดันให้เรื่องคนหายกลายเป็นประเด็นสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการหายตัวไปของ "เด็ก" โดยศูนย์ข้อมูลคนหายฯได้จุดประกายแนวคิดเรื่องควรมีกฏหมายเกี่ยวกับคนหายในประเทศไทยในรอบปีนี้ฐานะทางการเงิน ในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ข้อมูลคนหายฯถึงขั้นวิกฤติมีเงินคงเหลือที่สามารถดำเนินกิจกรรมอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่เดือน จึงทำให้มีแนวคิดในการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาในสังคมภายใต้ชื่อ"กองทุนตามน้องกลับบ้าน"โดยในรอบปีนี้ได้มีการดำเนินงานที่น่าสนใจ อาทิ

  • จัดสัมมนา "วิกฤติแรงงานทาส...ธุรกิจเถื่อนบนเรือประมง"
  • ติดตามประเด็น เด็กถูกลักพาตัว
  • ติดตามประเด็นการล่อลวงแรงงานประมง
  • ทลายธุรกิจ SEX PHONE และภัยเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
  • ริเริ่มโครงการเฝ้าระวังภัยเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน(IT WATCH)
  • พ.ศ.2551

    ต้นปี พ.ศ. 2551 ศูนย์ข้อมูลคนหายฯทำประเด็น "วันเด็กปีนี้...ขอพื้นที่สำหรับเด็กหาย" เพื่อให้สังคมตระหนักต่อปัญหาเด็กหายในสังคม เดือนมีนาคม 2551 บริษัท manpower ซึ่งเป็นบริษัทด้านทรัพยากรบุคคลระดับโลกได้ให้การสนับสนุนบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน ยังศูนย์ข้อมูลคนหายฯ 2 อัตราและสนับสนุนงบประมาณในการติดตามคนหายอีกเดือนละ 10,000 บาท เป็นระยะเวลา 10 เดือน (มีนาคม-ธันวาคม2551) ในปี พ.ศ.2551 ศูนย์ข้อมูลคนหายฯ มีเป้าหมายในการรณรงค์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายคนหายในประเทศไทย และปักธงในการเฝ้าระวังเรื่องภัยเทคโนโลยี ที่เป็นเครื่องมือในการล่อลวงเด็กประสบการณ์จากการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลคนหายฯเป็นผลให้เกิดโครงสร้างงานต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้ชื่อ "ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์"ซึ่งจะดำเนินงานสืบสวนปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ในเดือนเมษายน 2551

    บทบาทและภารกิจ

    ศูนย์ข้อมูลคนหายฯทำหน้าที่ให้คำปรึกษากรณีการหายตัวออกจากบ้านของคนในสังคมโดยวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเพื่อประสานงานกับ หน่วยงานภาครัฐในการดำเนินการติดตามคนหายตั้งแต่กระบวนการชั้นพนักงานสอบสวนและกระบวนการสืบสวน เพื่อติดตามตัวคนหายนอกจากนี้ศูนย์ข้อมูลคนหายฯยังเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลคนหายโดยใช้เวปไซค์ www.backtohome.org ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลคนหายไปยังสื่อมวลชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คนในสังคม ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามคนหายให้กลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัยต่อไป บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของศูนย์ข้อมูลคนหาย คือ การสร้างนวัตกรรมจากประสบการณ์ในการรับแจ้งคนหายในรูปแบบของงานด้านวิชาการ เช่น คู่มือในการติดตามคนหายประเภทต่างๆ และคู่มือกฎหมายในการติดตามคนหาย ฯลฯ ทั้งนี้งานเชิงวิชาการดังกล่าวจะเกิดคุณูปการต่อครอบครัวคนหายโดยตรงในการติดตามคนหาย อย่างมีขั้นตอนและแบบแผนที่ถูกวิธีบทบาทเชิงรุกต่อสังคมของศูนย์ข้อมูลคนหายอีกประการหนึ่ง คือ การผลักดันประเด็นทางสังคมที่มีผลต่อสภาวะ ความเสี่ยงในการหายออกจากบ้านของคนในสังคมให้เกิดการแก้ไขในเชิงนโยบาย โดยให้เกิดผลระยะยาวในการลดจำนวนคนในสังคมที่หาย ออกจากบ้านตลอดจนทำให้เกิดกลไกติดตามคนหายที่มีประสิทธิภาพต่อไปในสังคม ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์มูลนิธิกระจกเงา ในฐานะของเพื่อนร่วมทางของครอบครัวคนหายมุ่งหวังที่จะเป็นกำลังใจและอยู่เคียงข้างครอบครัวคนหาย ในวิกฤติแห่งการพลัดพราก ซึ่งยังคงเป็นปัญหาหนึ่งของสังคมที่ขาดคนเข้าใจและเหลียวแล